onsdag, maj 14, 2008

Så styrs Sverige vs Thailand การปกครองประเทศสวีเดน และไทย

งงมานานกับเรื่องการจัดระเบียบการปกครองของไทยกับของสวีเดน
ตอนนี้พอเริ่มเห็นแสงสว่างอยู่รำไรแล้วค่ะ

โจ้กันเลยค่ะ
เท่าที่เข้าใจ การจัดระเบียบราชการบริหารของไทย แต่เดิมจะเน้นการรวมอำนาจ และแบ่งอำนาจ แต่ยังไม่ค่อยมีการกระจายอำนาจเท่าใด

การกระจายอำนาจจริงๆ เริ่มมานานแล้ว แต่พึ่งมาเห็นเป็นรูปธรรมในระยะหลังนี่เอง

การจัดระเบียบราชการบริหารของไทยมี ๓ แบบคือ
๑. ราชการบริหารส่วนกลาง อันได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม
๒. ราชการส่วนภูมิภาค คือการแบ่งอำนาจจากส่วนกลาง หรือจากกระทรวง ทบวง หรือกรม ไปยังภูมิภาค คือจังหวัด อำเภอ หรือตำบลต่างๆ
แบ่งอำนาจ เขาแบ่งยังไง เพื่ออะไร (คือคำถามที่ตัวเองเคยสงสัย)
คำตอบคือ แบ่งอำนาจโดยการ จัดตั้งหน่วยงานตามจังหวัด หรืออำเภอต่างๆ เช่น
กรมสรรพากร คือ ส่วนกลาง
สำนักงานสรรพากรจังหวัด คือ ส่วนภูมิภาค
สำนักงานสรรพากรจังหวัด ก็เหมือนกับสาขาย่อย ของกรมสรรพากร ที่เปิดขึ้นมา เพื่อให้เกิดความสะดวกสำหรับประชาชน

เนื่องจากเป็นเพียงการแบ่งอำนาจ ทำให้สำนักงานสรรพากรจังหวัด มีอำนาจค่อนข้างจำกัด เรื่องใหญ่ๆ จะต้องส่งเข้าให้ส่วนกลางพิจารณา

๓. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งพึ่งมาบูมตอนช่วงหลัง ในรูปของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
ส่วนนี้แหละที่ทำให้กรูดงงมาก สงสัยตอนเรียนจะหลับ หรือไม่ก็มัวแต่ขายขนม หรือไม่ก็จีบบ่าว

องค์กรบริหารส่วนจังหวัดนี้จะมีในทุกจังหวัด

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอีกรูปแบบหนึ่งคือ เทศบาล ซึ่งจะจัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นที่มีความเจริญ ดังนั้น เทศบาลจึงไม่ได้จัดตั้งในทุกพื้นที่

เทศบาลมีรายระดับ เช่น เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร

ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจัดหวัดทุกแห่งจะได้รับการจัดต้งเป็นเทศบาลเมือ โดยไม่ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ประการอื่น

เท่าที่เข้าใจ ประเทศไทย(ยุคใหม่)พึ่งจะเริ่มกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อไม่นานมานี้ พึ่งเริ่มให้ท้องถิ่นปกครองกันเอง คำว่าปกครองกันเอง ดูแลตัวเองนี้คือ ให้มีรายได้เอง จัดรายจ่ายเอง บริหารงานต่างๆเอง

การที่จะเรียกว่าปกครองกันเอง หัวใจที่สำคัญก็คือ คณะผู้ทำงานต้องมาจากการเลือกตั้ง (ไม่ใช่จากการแต่งตั้งจากส่วนกลางเหมือนเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในส่วนภูมิภาค)

ความสัมพันธ์ของรูปแบบการปกครองทั้งสามแบบคือ
ส่วนกลาง "ควบคุมบังคับบัญชา" ส่วนภูมิภาค แต่ไม่มีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาส่วนท้องถิ่น (เพราะเขาเป็นอิสระไง)
แต่ส่วนกลางมีอำนาจ "กำกับดูแล" ส่วนท้องถิ่นเท่านั้น

---
การแบ่งการปกครองระดับต่างๆของไทย ดูเหมือนจะแบ่งตาม "อำนาจ"
ทำให้ลาวอย่างเรางงมาก
เพราะจังหวัดร้อยเอ็ดขอข้อยจังหวัดเดียวนี่ มีทั้้งส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นคร่อมกันอยู่ กล่าวคือ มีทั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรรมการจังหวัด
และองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล นายกเทศมนตรี

ฮ่วย ฮ่วย ฮ่วย แล้วเสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกัน ไม่ดีกันตายบ่  ลาวสงสัยต่อ

ถึงจะสงสัยต่อก็ต้องตัดใจ ไม่รู้จะไปถามใคร
จะค้นคว้าต่อ ก็กลัวว่าจะไม่มีเวลาไปทำมาหากินอย่างอื่น
งั้นละไว้ก่อน

---
ที่นี้มาดูของสวีเดน
ดูเหมือนว่าเขาจะแบ่งตามการแบ่งทางภูมิศาสตร์ ไม่ได้แบ่งตามอำนาจ
กล่าวคือ

พวกที่ดูแลระดับประเทศ เขาก็เรียกว่า Central förvaltning (การบริหารส่วนกลาง)
พวกที่ดูแลระดับย่อยลงมาจากประเทศ เขาก็เรียกว่า Regional förvaltning (การบริหารส่วนภูมิภาค)
พวกที่ดูแลระดับย่อยที่สุดเขาเรียกว่า Lokal förvaltning (การบริหารส่วนท้องถิ่น)

ส่วนกลางหรือ Centrala förvaltningen ของเขาก็เหมือนกันของไทย กล่าวคือ ประกอบด้วยรัฐบาล กระทรวง(departement) และกรมต่างๆ (statliga verk)
เห็นเขาว่า กระทรวงนี้ จะทำหน้าที่วางนโยบาย วางแผน
ส่วนหน่วยงานลงมือทำงานจริงๆ คือ statliga verk เทียบเป็นไทยก็คือ กรม หรือองค์การ ชื่อเรียก statliga verk จะแตกต่างกันออกไป ไม่จำเป็นต้องมีคำว่า verk เสมอไป ก็คงเหมือนของไทยแหละ ที่ใช้ททั้งคำว่า กรม และองค์การ บางทีก็การ เฉยๆ เช่น กรมการขนส่ง องค์การโทรศัพท์

ของสวีเดนก็เช่น Skatteverket, Socialstyrelse

---
ต่อไปก็เป็นระดับภูมิภาค คือแบ่งพื้นที่ประเทศ ให้เป็นภูมิภาค
ของเขาจะแบ่งเป็น Län มีทั้งหมด ๒๑ län
พื้นที่เดียวกันนี้ ดั้นมีชื่อเรียกว่า Landsting อีกต่างหาก
หาเรื่องให้ลาวงงอีกแล้ว

แต่เนื่องจากลาวสู้ จากการตั้งกระทู้ถามตามเน็ตทำให้หาทฤษเดามาได้ว่า
Län เทียบได้กับ จังหวัด ของไทย
ที่คิดอย่างนี้เพราะ Sverige är indelat i 21 län med en länsstyrelse i varje land. Länsstyrelsen är statens organ i länet med en landshövding, utsedd av regeringen, som chef. Länsstyrelsen ansvarar bl.a. för vissa socialvårdsfrågor och regional samhällsplanering. Länsstyrelsen samverkar med ett flertal myndigheter på central, regional och lokal nivå.

ดูจากคำอธิบายข้างต้นแล้ว มันคือจังหวัดชัดๆ
และ Landshövding ก็คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดนั่นเอง

เขาจะมีหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานในระดับ Län ซึ่งถ้าเทียบกับของไทยก็จะประมาณ ...จังหวัด เช่น ป่าไม้จังหวัด ขนส่งจังหวัด

---
นอกจากนี้แล้วส่วนภูมิภาคนี้ยังมีการแบ่งเป็น Landsting
ซึ่งตัวนี้ทำให้กรูดงง

อะไรที่มันทับกัน มักทำให้กรูดงงเสมอ
Län กับ Landsting ดันมาทับพื้นที่เดียวกัน

คำอธิบายมาทีหลังค่ะ
ลงไปที่ระดับท้องถิ่นหรือ Lokala förvaltningen ก่อนค่่ะ
ระดับนี้ได้แก่ Kommun คือส่วนที่ใกล้ชิดกับเรามากที่สุด
ตรงนี้คิดว่ามีระดับเหมือน เทศบาล คือให้ปกครองกันเอง ผู้ปกครองในระดับนี้มาจากการเลือกตั้ง

---
Kommun จะดูแลเรื่องใกล้ตัวเช่น เรื่องโรงเรียน การพยาบาลขั้นต้น เช่น สถานีอนามัย  เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ การจัดหาสถานเลี้ยงดูเด็กก่อนและในวัยเรียน
เงินของคอมมูน ได้มาจากภาษีของประชาชนในแต่ละคอมมูน
บางส่วนเป็นเงินอุดหนุนที่ได้รับมาจากรัฐบาล

เนื่องจาก Kommun ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยใหญ่ ทำให้มีความสามารถจำกัด จึงได้รวมตัวกัน เป็นกลุ่มคอมมูน ซึ่งเรียกว่า Landsting แล้ว การรวมตัวกันของแต่ละคอมมูน  ไม่ใช่ว่าใครชอบพอใครก็จับคู่แต่งงานเลย ทำไม่ได้ มันมีแบบมีแผน
แบบแผนที่เห็นก็คือ ใช้พื้นที่เดียวกับ Län นั่นแหละ ง่ายดี

Landsting พี่ใหญ่ ก็จะจัดการเรื่องใหญ่ๆ ที่คอมมูนทำเองไม่ไหว เช่น การจัดการศึกษาด้านการแพทย์ การจัดหาโรงพยาบาล อะไรประมาณนั้น

---
ไปเจอมาจากเวปของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เขาเขียนได้ดีมากเลยค่ะ ให้ความกระจ่างได้เยอะ
---
ลักษณะของการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด  ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด  ..  2498  กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด  เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบหนึ่ง  นอกจากเทศบาลและสุขาภิบาล  ดังนั้น  องค์การบริหารส่วนจังหวัด จึงมีฐานะ  2  อย่างในคราวเดียวกัน คือ  ฐานะที่เป็น  “ราชการบริหารส่วนภูมิภาค”  และฐานะที่เป็น  “ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น”  ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนและผู้ศึกษาการปกครองท้องถิ่น  เป็นอย่างมาก  ฉะนั้น  จึงขอทำความเข้าใจในแต่ละฐานะ ดังนี้  (สมบัติ  สืบสมาน.   2533  :  277)

1.  จังหวัดในฐานะเป็น  “ราชการบริหารส่วนภูมิภาค”  หรือเป็น การปกครองส่วนภูมิภาค  ในฐานะเป็นตัวแทนหรือสาขาของราชการส่วนกลาง คือ กระทรวง ทบวง  กรมต่าง  ซึ่งมาจัดตั้งหน่วยงานจัดบริการหรือปกครองตามอาณาเขตต่าง  ของประเทศซึ่งปัจจุบันเป็นจังหวัด”  เป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด  แบ่งเป็น 75 จังหวัด  ยกเว้นกรุงเทพมหานคร


2.  ในฐานะที่จังหวัดเป็น  “ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น”  ซึ่งเรียกว่า  “องค์การบริหารส่วนจังหวัด”  เป็นหน่วยงานที่แยกไปต่างหากจากหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาค  และส่วนกลาง  มีหน้าที่กระทำกิจการซึ่งเรียกว่า  “กิจการส่วนจังหวัด”  โดยมีทรัพย์สินและรายได้ซึ่งจังหวัดเก็บมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องส่งกระทรวงการคลัง เป็นรายได้แผ่นดิน และมีข้าราชการส่วนจังหวัดที่ได้รับเงินเดือนที่ตั้งโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติงาน

อ่านดูแล้วคล้ายๆ Län กับ Landsting ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน แต่ลักษณะงานและความรับผิดชอบต่างกัน สายงานก็ต่างกัน คณะผู้ทำงานก็มีที่มาต่างกัน

งั้นก็สรุปว่า
Län = จังหวัด
Landshövding = ผู้ว่าราชการจังหวัด
Kommun = เทศบาล(เมือง) ไหมฮึ บางบริบทอาจหมายถึง อำเภอ
Landsting = คืออะไรล่ะ เทศมณฑล หรือ มณฑล เฉยๆ

ทีคิดว่า Landsting เป็นมณฑล เพราะว่า ทั้งสองคำ ต่างเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค ซึ่งมีขนาดกลางๆ ระหว่าง ส่วนที่ใหญ่ที่สุดคือประเทศ และส่วนที่เล็ก คือ kommun 

หิวแล้วค่ะ

ลาก่อน
มะกรูด


ปล. นี่เป็นแค่การบันทึกความเข้าใจส่วนตัว ไม่ได้จบสายการปกครองมา อาจเข้าใจผิด หากมีข้อมูลตรงไหนผิดพลาด ขอความกรุณาผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยนะคะ

ที่มา หนังสือ Samhällsguiden
        หนังสือ คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการบริหาร
        เวปhttp://www.pao-roiet.go.th/home/data04/data04_1.htm 

Inga kommentarer: